วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

    





 
                                         สารสนเทศ หมายถึง ข่าวสารที่สำคัญ

-สารสนเทศ Information) หมายถึงความรู้ที่ได้จากการศึกษา  ค้นคว้า
-สารสนเทศ เป็นความรู้ที่ได้จากการค้นคว้า  เป็นความรู้ที่มีลักษณะพิเศษ
-สารสนเทศมีความหมายตามที่ได้มีการให้คำจำกัดที่ใกล้เคียงกัน
สารสนเทศหมายถึง ข้อมูลทางด้านปริมาณและคุณภาพ ที่ประมวลจัดหมวดหมู่เปรียบเทียบและวิเคราะห์  แล้วสามารถนำมาใช้ได้ หรือนำมาประกอบพิจารณาได้ง่ายกว่า

เทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร?
เทคโนโลยีสารสนเทศหรือ ไอที เป็นเทคโนโลยีที่มีความสำคัญต่อสังคมในปัจจุบันมีความเกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ การประมวลผล และการแสดงผลสารสนเทศ

เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์จัดเป็นเทคโนโลยีหลักของเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคปัจจุบัน  มีทั้งการบันทึก จัดเก็บ ประมวลผล แสดงผล มีส่วนย่อยที่สำคัญ 2 ส่วน คือ  เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ เทคโนโลยีซอฟต์แวร์

1.เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์  หมายถึงอุปกรณ์ทุกชนิดที่ประกอบขึ้นเป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ที่ต่อพ่วง เพื่อเชื่อมโยงจำแนกหน้าที่
-หน่วยรับข้อมูล
-หน่วยประมวลผลกลาง
-หน่วยแสดงผล (Output Unit)
-หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storce Unit)

2.เทคโนโลยีซอฟต์แวร์  หมายถึงโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน
-ซอฟต์แวร์ระบบ
-ซอฟต์แวร์ประยุกต์

เทคโนโลยีสื่อสารคมนาคม  หมายถึงเทคโนโลยีที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกันทั่วไป เช่นระบบโทรศัพท์  ระบบดาวเทียม ระบบเครือข่ายเคเบิล และอื่นๆ

-ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
 1.แบบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่4 (2520-2524) การมีส่วนร่วมของสารสนเทศเพื่อการศึกษา
 2.มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานและปฏิบัติการของระบบสารสนเทศ เพื่อการศึกษา
 3.ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับบที่8 ก็ได้มีการเห็นความสำคัญ ของเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการศึกษา
 4.ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่9 มีการจัดทำแผนหลักเพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา แผนพัฒนาข้างต้นทำให้เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญต่อวงการศึกษาของประเทศไทยมากขึ้น จะทำให้การศึกษาของชาติ มีความเท่าเทียมกันทั่วถึง มีคุณภาพและมีความต่อเนื่อง ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอย่างคุ้มค่า

-พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
ยุคที่ 1 การประมวลผลข้อมูล วัตถุประสงค์เพื่อ การคำนวนและการประมวลผลข้อมูลของรายการประจำ (Transaction Procssing)  เพื่อลดการใช้จ่ายด้านบุคลากร
ยุคที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการมีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการตัดสินใจ ควบคุม ดำเนินการ ติดตามผล และวิเคราะห์ผลงานของผู้บริหารระดับต่างๆ
ยุคที่ 3 การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ มีการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเรียกใช้สารสนเทศที่จะช่วยในการตัดสินใจ นำหน่วยงานไปสู่ความสำเร็จ
ยุคที่ 4 ยุคปัจจุบันหรือยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ และระบบการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดทำระบบสารสนเทศ และเน้นความคิดของการให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นวัตถุประสงค์สำคัญ

-ประโยชน์
1.ให้ความรู้ ทำให้เกิดความคิดและความเข้าใจ
2.ใช้ในการวางแผนและบริหารงาน
3.ใช้ประกอบการตัดสินใจ
4.ใช้ในการควบคุมสถานการณ์ หรือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
5.เพื่อให้การบริหารงานมีระบบ

*สรุป*
การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประโยชน์ในวงการศึกษามีปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วของอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศประเภทต่างๆ เช่นดาวเทียมสื่อสาร ใยแก้วนำแสง อินเทอร์เน็ต ก่อให้เกิดระบบคอมพิวเตอร์สำหรับการบริหารงาน ในสถานศึกษาด้านต่างๆ

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
รูปแบบเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน สามารถจำแนกตามลักษณะ 6 รูปแบบดังนี้
1.เทคโนโลยีในการเก็บข้อมูล เช่น ดาวเทียม ถ่ายภาพทางอากาศ กล้องดิจิตัล เครื่องเอกซเรย์
2.เทคโนโลยีในการบันทึกข้อมูล เป็นสื่อบันทึกข้อมูลต่างๆ เช่นเทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก บัตรเอทีเอ็ม
3.เทคโนโลยีในการประมวลผลข้อมูล ได้แก่เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์
4.เทคโนโลยีในการแสดงผลข้อมูล เช่นเครื่องพิมพ์ จอภาพ และพลอตเตอร์
5.เทคโนโลยีในการจัดทำสำเนาเอกสาร เช่นเครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องถ่ายไมโครฟิล์ม
6.เทคโนโลยีในการถ่ายทอดหรือสื่อสารข้อมูล ได้แก่ โทรคมนาคมต่างๆ เช่นโทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง โทรเลข เทเล็กซ์ และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งระยะใกล้และระยะไกล

-ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น
1.ระบบเอทีเอ็ม
2.การบริหารและการทำธุรกรรมบนอินเทอร์เน็ต
3.การลงทะเบียนเรียน

-วัตถุประสงค์ของการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศ
1.เพื่อทราบรายละเอียดของข้อมูล
2.เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการศึกษาหรือทำงาน
3.เพื่อสร้างการเรียนรู้ให้กับตัวเองและผู้อื่น

-Search Engine หมายถึง เครื่องมือหรือเว็บไซด์ที่อำนวยความสะดวกในการสืบค้นข้อมูลและข่าวสารให้กับผู้ใช้อินเทอร์เน็ต

-ประเภทของ Search Engine แบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังนี้
1.อินเด็กเซอร์ (Indexers) จะเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ที่อยู่กระจัดกระจายทางอินเทอร์เน็ต ไม่มีการแสดงข้อมูลออกมา เป็นลำดับชั้นของความสำคัญ
2.ไดเร็กทอรี่ (Directories)การค้นหาข้อมูลจะมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยมากกว่าการค้นหาทางIndexers ข้อมูลต่างๆจะคัดแยกเป็นหมวดหมู่ จะแบ่งแยกเว็บไซด์ต่างๆออกเป็นประเภทๆ
3.เมตะเสิรช์ (Metasearch) จะใช้หลายๆวิธีการมาช่วยในการค้นหาข้อมูลโดยรับคำสั่ง

-ประโยชน์จาก Search Engine 
1.ใช้หาข้อมูลต่างๆ
2.เทคนิคการสืบค้นข้อมูล
3.การใช้คำหลัก
4.หลีกเลี่ยงการใช้ตัวเลข
5.ใช้เครื่องหมายบวกและลบช่วย

-ไดเร็กทอรี่ (Directories)
จะเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ เปรียบเสมือนแคตตาล็อกสินค้า  ตัวอย่างเช่น
-yahoo.com
-booksmath.com
-galaxy.com
-siamguru.com
-lycos.com
-askjeeves.com

-เมตะเสิร์ช (Metasearch )
จะใช้หลายๆวิธีการมาช่วยในการค้นหาข้อมูลโดยจะรับคำสั่ง ค้นหาจากเราแล้วส่งต่อไปยังเว็บไซด์  Search Engine  หลายๆแห่งพร้อมกัน  เช่น
-dogpile.com
-profusion.com
-metacrawler.com
-highway61.com
-thaifind.com
                                                                   

                คอมพิวเตอร์หมายถึงเครื่องมือหรืออุปกรณ์ ประเภทอิเล็กทรอนิคส์คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ คือส่วนประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มี5ส่วน ส่วนที่1หน่วยรับข้อมูล
                                                                ส่วายนที่2cpuหน่วยประมวลผลกลาง
                                                                ส่วนที่3หน่วยความจำ
                                                                ส่วนที่4หน่วยแสดงผล
                                                                ส่วนที่5อุปกรณืต่อพ่วงอื่นๆ
ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
1 มีความเร็วในการทำงาน
2 มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง
3 มีความถูกต้องแม่นยำ
4 เก็บข้อมูลได้มาก
5 สามารถโอนย้ายข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง
ระบบคอมพิวเตอร์คือ กรรมวิธีที่คอมพิวเตอร์ทำการใดๆกับข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ตามความประสงค์ของผู้ใช้งาน
                       องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
1 ฮาร์ดแวร์ ส่วนเครื่อง
2 ซอฟแวร์ ส่วนชุดคำสั่ง
3 ข้อมูล
4 บุคลากร
ฮาร์ดแวร์ คือตัวเครื่องและอุปกรณ์ต่างๆที่เราสามารถจับต้องได้มี4ส่วนคือ
1 ส่วนประมวลผล
2 ส่วนความจำ
3 อุปกรณ์รับเข้า-ออก
4 อุปกรณ์ส่วนเก้บข้อมูล
ส่วนที่1
CPUมีหน้าที่หลักในการควบคุมการทำงานของระบบของคอมพิวเตอร์ประมวลผลและเปรียบเทียบข้อมูลดดยทำการเปลี่ยนแปลง
ส่วนที่2
 หน่วยความจำ 3 ประเภท
1 หน่วยความจำหลัก
2 หน่วยความจำรอง
3 หน่วยเก็บข้อมูล
หน่วยความจำหลักมี2ประเภท
หน่วยความจำแบบแรม
หน่วยความจำแบบรอม
หน่วยความสำรอง
มีไว้สำหรับสำรองการทำงานกับข้อมูลและโปรแกรมขนาดใหญ่
1.ใช้ในการเก็บข้อมูลสำรอง
2.ใช้เก็บข้อมูลอย่างถาวร
3.ใช้เป็นสื่อในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างเครื่อง
ประโยชน์ของหน่วยความจำสำรอง
จะช่วยแก้ปัญหาการสูญหายของข้อมูลอันเนื่องมาจากไฟฟ้าดับเพราะข้อมูลต่างๆที่ส่งเข้ามาประมวลผล เมื่อเรียบร้อยแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้จะถูกนำไปเก็บในความจำหลักประเภทแรม
หากปิดเครื่องหรือข้อมูลหายจึงจำเป็นต้องมีหน่วยความจำสำรอง
ส่วนแสดงข้อมูล
คือส่วนที่แสดงข้อมูลจากสัญญาณไฟฟ้าในหน่วยประมวลผลกลาง ออกมาเป็นรูปแบบที่เราเข้าใจได้ เช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์ เครื่องพิมพ์ภาพและลำโพงเป็นต้น
บคลากรทางคอมพิวเตอร์
คือ คนที่มีความรู้ความสามารถในการใช้หรือควบคุมการใช้คอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างราบรื่น
มี 3 ประเภท
1. ฝ่ายวิเคราะห์และออกแบบ
2. ฝ่ายเกี่ยวกับโปรแกรม
3. ฝ่ายปฏิบัติงาน เครื่องและบริการ
บุคลากรในหน่วยงานคอมพิวเตอร์
1.หัวหน้าหน่วยงานคอมพิวเตอร์
2.หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์และวางแผนระบบงาน
3.โปรแกรมเมอร์
4.ผู้ควบคุมเครื่องคอม
5.พนักงานจัดเตรียมข้อมูล
 บุคลากรในหน่วยงานคอมพิวเตอร์

          1.
หัวหน้าหน่วยงานคอมพิวเตอร์    Edp. Monager 
          2
. หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์และวางแผนระบบงาน System lnaly
          3.
โปรแกรมเมอร์
Programmer
          4.
ผู้ควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์  
Comput Operation
          5.
พนักงานจัดเตรียมข้อมูล


              1. ผู้จัดระบบ คือผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน
              2. นักวิเคราะห์ระบบงาน คือ ผู้ทำการศึกษาระบบงานเดิม หรืองานใหม่ และทำการวิเคราะห์
              3.โปรแกรมเมอร์ คือ ผู้นำระบบงานใหม่ที่นักวิเคราะห์ระบบออกแบบไว้มาสร้างเป็นโปรแกรม
              4. วิศวกรระบบ คือ ผู้ทำหน้าที่ออกแบบ สร้าง ซ่อมบำรุงและดูแลรักษาฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานได้ตามต้องการ
              5. พนักงานปฎิบัติการ คือ ผู้ทำหน้าที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่หรือ ภารกิจประจำวันที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์      แบ่งประเภทการจัดการระบบ 4 ระดับ
                              1. ผู้จัดการระบบ
                              2. นักวิเคราะห์ระบบ
                              3. โปรแกรมเมอร์
                              4. ผู้ใช้ User



ซอฟต์แวร์ Software
                  ซอฟต์แวร์ คือ การลำดับขั้นตอนการทำงานของคำสั่งที่จะทำหน้าที่สั่งคอมพิวเตอร์ ว่าให้ทำอะไรเป็นชุดของโปรแกรมหลายๆ โปรแกรมมารวมกันให้สามารถทำงานได้อย่างครบถ้วน สมบรูณ์ตามที่ต้องการ เรามองเห็นไม่ได้ หรือสัมผัสไม่ได้ แต่เารสามรถ สร้าง หรือจัดเก็บ และนำมาใช้งานหรือเผยแผ่ได้ด้วยสื่อหลายชนิด เช่น แผ่นบัน แผ่นชีดี



หน้าที่ของซอฟต์แวร์
                  ซอฟต์แวร์  ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์เราก็ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย ซอฟต์แวร์สำหรับคอมพิวเตอร์     ประเภทของซอฟต์แวร์  3 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
            1. ซอฟต์ระบบ
            2
. ซอฟต์แวร์ประยุกต์
            3
. ซอฟแวร์ใช้งานเฉพาะ หน่วยงาน
1.ซอฟต์แวร์ระบบ
                     ซอฟต์แวร์ระบบเป็นโปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช่จัดการกับระบบหน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบคือ ดำเนินงานพื้นฐานต่างๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผง ป้อนข้อมูลแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์ นำข้อมูลไปแสดงผลออกจอภาพ หรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์ 
                     System sofware หรือโปรแกรมระบบที่รู้จักกันดีก็คือ Dos,Windows,Unix,Linux รวมทั้งโปรแกรมแปลคำสั่งที่เขียนในภาษาระดับสูง เช่น ภาษา Basic,Fortran

     หน้าที่ของซอฟต์แวร์ระบบ
               1.ใช่ในการจัดหน่วยรับหน่วยส่งออกส่งคอมพิวเตอร์ เช่น รับรู้ การกดเป็นต่างๆบนแผนแป้นอักขระ ส่งรหัสตัวอักษรออกทางจอภาพหรือเครื่องพิมพ์
               2.ใช้ในการจัดการหน่วยความจำ เพื่อนำข้อมูลจากแผ่นบันทึกมาบรรจุยังหน่วยความจำหลัก 
               3.ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้กับเครื่อง คอมพิวเตอร์เพื่อให้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น เช่นการขอดูรายการในสารบบในแผ่นบันทึกการทำสำเนาแฟ้มข้อมูลต่างๆ

    ประเภทของซอฟต์แวร์ระบบ
                1.ระบบปฎิบัติการ 
                2.ตัวแปลภาษา


1.ระะบบปฎิษัติการ หรือที่เรียกว่า Operating System : OS 
                   ซอฟต์แวร์ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฎิบัติการนี้ระบบปฎิษัติการที่รู้จักกันดี เช่น ดอส วินโดวส์ ยูนิกส์ เป็นต้น


      1.1 ดอส เป็นซอฟต์แวร์จัดระบบงานที่พัฒนามานานแล้ว
      1.2 วินโดวส์ เป็นระบบปฎิษัติการที่พัฒนามาตั้งแต่จากดอสโดยให้ผู้ใช้สั่งงานได้
      1.3 ยูนิกส์ เป็นระบบปฎิบัติที่พัฒนามาตั้งแต่ครั้งใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบปฎิบัติการยูนิกส์
              เป็นระบบปฎิบัติการที่เทคโนโลยีแบบเปิด
      1.4 ลีนุกซ์ เป็นระบบปฎิบัติการที่พัฒนามายูนิกซ์ เป็นระบบซึ่งมีการการแจกจ่ายโปรแกรมต้นฉบับ
              ให้นำพัฒนาช่วยกันพัฒนาคุณสมบัติของระบบปฎิบัติลีนุกซ์เป็นที่นิยมกันมากขึ้นในปัจจุบัน
      1.5 แมคอินทอช เป็นระบบปฎิบัติการสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แมคอินทอชส่วนมากนำ 
              ไปใช้งานด้านกราฟิก ออกแบบและจัดแต่งเอกสารนิยมใช้มากในสำนักพิมพ์ต่างๆ    
    

      ชนิดของระบบปฎิบัติการสามารถแบ่งได้ 3 ชนิด

1.ประเภทใช้งานเดียว
      ระบบปฎิบัติการนี้ละกำหนดให้คอมพิวเตอร์ใช้งานได้ครั้งละหนึ่งงานเท่านั้น
2.ประเภทใช้ได้หลายงาน
      ระบบปฎิบัติการประเภทนี้สามารถควบคุมการทำงานพร้อมกันหลายงานในขณะเดียวกันผู้ใช้สามารถ
      ทำงานกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้หลายชนิด
3.ประเภทใช้งานหลายคน
      ในหน่วยงานบางแห่งอาจใช้คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ทำหน้าที่ประมวลผลทำให้ในขณะใดขณะหนึ่งมี
       ผู้ใช้คอมพิวเตอร์พร้อมกันหลายคน จึงต้องมีความสามารถสูง



หน่วยความจำสำรอง (Secondary Memory Unit)
หน่วยความจำสำรอง หรือหน่วยเก็บข้อมูลรอง เป้นหน่วยเก็บที่สามารถรักษาข้อมูลได้ตลอดเวลาไปหลังจากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว
             หน่วยความจำสำรองมีหน้าที่หลักคือ
1.ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือสำรองข้อมูลเพื่อใช้ในอนาคต
2.ใช้ในการเก็บข้อมูล โปรแกรมไว้อย่างถาวร
3.ใช้เป็นสื่อในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง
         





    
   ประโยชน์ของหน่วยความจำสำรอง ...
        หน่วยความจำรองจะช่วยแก้ปัญหาการสูญหายของข้อมูลอันเนื่องมาจากไฟฟ้าดับเพราะข้อมูลต่างๆที่ส่งเข้ามาประมวลผล เมื่อเรียบร้อยแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้จะถูกนำไปเก็บในความจำหลักประเภทแรม หากปิดเครื่องหรือมีปัญหาทางไฟฟ้า อาจทำให้ข้อมูลสูญหายจึงจำเป็นต้องมีหน่วยความจำรอง เพื่อนำข้อมูลจากหน่อยความจำแรมมาเก็บไว้ใช้งานในครั้งต่อไป หน่วยความจำประเถทนี้ส่วนใหญ่จะพบในรูปของสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลภายนอก เช่น ฮาร์ดดิสก์ แผ่นบันทึก ซิปดิสก์ ซีดีรอม ดีวีดี เทปแม่เหล็กหน่วยความจำแบบแฟลช หน่วยความจำรองนี้ ถึงจะไม่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่เครื่องคอมพิวเตอร์ก็ยังสามารถทำงานได้ปกติ  

 ส่วนแสดงผลข้อมูล
               
ส่วนแสดงผลข้อมูล   คือส่วนที่แสดงข้อมูลจากสัญญาณไฟฟ้าในหน่วยประมวลผลกลางให้เป็นรูปแบบที่คนเราสามารถเข้าใจได้  อุปกรณ์ที่แสดงผลข้อมูลได้แก่  จอภาพ (Monitor)  เครื่องพิมพ์( Printer)  เครื่องพิมพ์ภาพ Ploter  และ ลำโพง (Speaker)  เป็นต้น

    



บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ (PEOPLEWARE)
            บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ หมายถึง คนที่มีความรู้ความสามารถในการใช้หรือควบคุมให้การใช้คอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างราบรื่น อาจจะประกอบด้วยคนเพียงคนเดียวหรือหลายคนช่วยกันรับผิดชอบ โครงสร้างของหน่วยงานคอมพิวเตอร์
 ประเภทของบุคลากรทางคอมพิวเตอร์  (PEOPLEWARE)                                                                     1. ฝ่ายวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน
2. ฝ่ายเกี่ยวกับโปรแกรม
3. ฝ่ายปฏิบัติงานเครื่องและบริการ
บุคลากรในหน่วยงานคอมพิวเตอร์
1. หัวหน้าหน่วยงานคอมพิวเตอร์ (EDP Manager)
2. หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์และวางแผนระบบงาน (System Analyst หรือ SA)
3. โปรแกรมเมอร์ (Programmer)
4. ผู้ควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ (Computer Operator)
5. พนักงานจัดเตรียมข้อมูล (Data Entry Operator)

 ประเภทของบุคลากรทางคอมพิวเตอร์  (PEOPLEWARE)                                                                     1. ฝ่ายวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน
2. ฝ่ายเกี่ยวกับโปรแกรม
3. ฝ่ายปฏิบัติงานเครื่องและบริการ 
บุคลากรในหน่วยงานคอมพิวเตอร์ 
1. หัวหน้าหน่วยงานคอมพิวเตอร์ (EDP Manager)
2. หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์และวางแผนระบบงาน (System Analyst หรือ SA)
3. โปรแกรมเมอร์ (Programmer)
4. ผู้ควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ (Computer Operator)
5. พนักงานจัดเตรียมข้อมูล (Data Entry Operator)


ซอฟต์แวร์ (SOFTWARE)
ซอฟต์แวร์ หมายถึง ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงหมายถึง ลำดับขั้นตอนการทำงานที่เขียนขึ้นด้วยคำสั่งของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จากที่ทราบมาแล้วว่าคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง การทำงานพื้นฐานเป็นเพียงการกระทำกับข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสอง ซึ่งใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ หรือแม้แต่เป็นเสียงพูดก็ได้ ซอฟต์แวร์นั้น นอกจากจะสามารถใช้งานบนคอมพิวเตอร์ได้แล้ว ยังสามารถใช้งานบนเครื่องใช้ หรืออุปกรณ์อื่น เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือ หุ่นยนต์ในโรงงาน หรือ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ
       
            หน้าที่ของซอฟแวร์
ซอฟแวร์ ทำหน้าที่เป็นตัวต่อเชื่อมระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์
            ประเภทของซอฟแวร์  มี ประเภท คือ
1.ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) คือซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบคือดำเนินงานพื้นฐานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำรอง เมื่อเราเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ทันทีที่มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะทำงานตามโปรแกรมทันที โปรแกรมแรกที่สั่งคอมพิวเตอร์ทำงานนี้เป็นซอฟต์แวร์ระบบ ซอฟต์แวร์ระบบอาจเก็บไว้ในรอม หรือในแผ่นจานแม่เหล็ก หากไม่มีซอฟต์แวร์ระบบ คอมพิวเตอร์จะทำงานไม่ได้ 

          
หน้าที่ของซอฟต์แวร์ระบบ
1.ใช้ในการจัดหน่วยรับ หน่วยส่งออกของคอมพิวเตอร์ เช่น รับรู้การกดแป้นต่างๆบนแผนแป้นอักขระ ส่งรหัสตัวอักษรออกทางจอภาพหรือเครื่องพิมพ์
2.ใช้ในการจักการหน่วยความจำ เพื่อนำข้อมูลจากแผ่นบันทึกมาบรรจุยังหน่วยความจำหลัก
3.ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น  เช่น การทำสำเนาแฟ้มข้อมูลต่างๆ
ประเภทของซอฟต์แวร์ระบบ
1.ระบบปฏิบัติการ  OS
2.ตัวแปลภาษา

ระบบปฏิบัติการหรือ OS
เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการนี้  ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมากและเป็นที่รู้จักกันดีเช่น ดอส วินโดวส์ ยูนิกส์ ลีนุกส์ เป็นต้น

1.ดอส (Disk Operating System :DOS)  เป็นซอฟต์แวร์จัดระบบงานที่พัฒนามานานแล้ว
2.วินโดวส์ (Windows) เป็นระบบปฏิบัติงานที่พัฒนามาต่อจากดอสโดยให้ผู้ใช้สั่งงานได้จากเมาส์มากขึ้น
3.ยูนิกส์(Unix) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาตั้งแต่ครั้งใช้กันเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ระบบปฏิบัติการยูนิกส์เป็นระบบปฏิบัติการที่เป็นเทคโนโลยีแบบเปิด ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผู้ใช้ไม่ต้องผูกติดกับระบบใดระบบหนึ่ง นิยมใช้กับเครื่องที่เชื่อมโยงเครือข่าย
4.ลีนุกส์(Linux) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาจากระบบยูนิกส์ เป็นระบบซึ่งมีการแจกจ่ายโปรแกรมต้นฉบับให้นักพัฒนาช่วยกันพัฒนาคุณสมบัติของระบบปฏิบัติการลีนุกส์เป็นที่นิยมกันมากขึ้นในปัจจุบัน  ลีนุกส์สามารถทำงานได้บน CPU หลายตระกูล เช่น อินเทล ดิจิตอล ซันสปาร์ค
5.แมคอินทอส  เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แมคอินทอส ส่วนมากนำไปใช้งานด้านกราฟิก  ออกแบบและจัดแต่งเอกสาร นิยมใช้มากในสำนักพิมพ์ต่างๆ
  ชนิดของระบบปฏิบัติการสามารถแบ่งได้ 3 ชนิด
1.     ประเภทใช้งานเดียว
ระบบปฏิบัติการนี้จะกำหนดให้คอมพิวเตอร์ใช้งานได้ครั้งละหนึ่งงานเท่านั้น
2.     ประเภทใช้ได้หลายงาน
ระบบปฏิบัติการประเภทนี้สามารถควบคุมการทำงานพร้อมกันหลายงาน ในขณะเดียวกันผู้ใช้สามารถทำงานกันซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้หลายชนิด
3.     ประเภทใช้งานหลายคน
ในหน่วยงานบางแห่งอาจใช้คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ทำหน้าที่ประมวลผล  ทำให้ในขณะใดขณะหนึ่งมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์พร้อมกันหลายคน  จึงต้องมีความสามารถสูง

-ตัวแปลภาษา
    การพัฒนาซอฟต์แวร์ต้องอาศัยซอฟแวร์ที่ใช้ในการแปลภาระดับสูงเพื่อแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง  ภาษาระดับสูงมีหลายภาษา  ภาษาระดับสูงเหล่านี้สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมเขียนชุดคำสั่งได้ง่าย เข้าใจได้ ตลอดจนถึงสามารถปรับปรุง แก้ไขซอฟต์แวร์ในภายหลังได้
    ภาษาระดับสูงมีหลายภาษาซึ่งสร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมเขียนชุดคำสั่งได้ง่าย เข้าใจได้
ภาษาระดับสูงที่พัฒนาขึ้นทุกภาษาต้องมีตัวแปลภาษาระดับสูง  ได้แก่ ภาษา Basic, Pascal, C, และภาษาโลโก
1.)    ภาษาปาสคาล เป็นภาษาสั่งงานคอมพิวเตอร์ ที่มีรูปแบบเป็นโครงสร้างเขียนสั่งงานคอมพิวเตอร์เป็นกระบวนความ  ผู้เขียนสามารถแบ่งแยกงานออกมาเป็นชิ้นเล็กๆแล้วมารวมกันเป็นโปรแกรมขนาดใหญ่ได้
2.)    ภาษาเบสิกเป็นภาษาที่มีรูปแบบคำสั่งไม่ยุ่งยาก สามารถเรียนรู้แล้วเข้าใจได้ง่าย มีรูปแบบคำสั่งพื้นฐานที่สามารถนำมาเขียนเรียงต่อกันเป็นโปรแกรมได้
3.)    ภาษาซี เป็นภาษาที่เหมาะสมสำหรับใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์อื่นๆ  ภาษาซีเป็นภาษาที่มีโครงสร้างคล่องตัวสำหรับการเขียนโปรแกรมหรือให้คอมพิวเตอร์ติดต่อกับอุปกรณ์ต่าง
4.)    ภาษาโลโก เป็นภาษาที่เหมาะสำหรับการเรียนรู้และเข้าใจหลักการโปรแกรม ภาษาโลโกได้รับการพัฒนาสำหรับเด็ก

   นอกจากนี้ยังมีภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันอีกมาก ได้แก่  Fortran , Cabal  และภาษาอาร์พีจี
-ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ( Application Software)
   ซอฟต์แวร์ประยุกต์เป็นโปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อการใช้งานเฉพาะเรื่องตามที่เราต้องการ เช่น                            
งานพิมพ์เอกสาร งานพิมพ์รายงาน  วาดภาพ  เล่นเกม  หรือโปรแกรมระบบบัญชี  รายรับรายจ่าย  และเงินเดือน  โปรแกรมอินเทอร์เน็ตเอ็กซ์พลอเรอร์  ใช้เพื่อการสืบค้นข้อมูลและเชื่อมโยงกันระบบอินเทอร์เน็ตก็ได้  เน้นการใช้งานสะดวก
   
-ประเภทของซอฟต์แวร์ประยุกต์
แบ่งตามลักษณะการผลิตมี 2 ประเภทคือ
1)  ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเองโดยเฉพาะ
2)  ซอฟต์แวร์ที่หาซื้อได้ทั่วไป
           2.1) ทั้งโปรแกรมเฉพาะ
           2.2) โปรแกรมมาตรฐาน

แบ่งตามกลุ่มการใช้งานมี 3 กลุ่มใหญ่ๆคือ   
    1)  กลุ่มการใช้งานทางด้านธุรกิจ   (Business)
    2)  กลุ่มการใช้งานด้านกราฟิกและมัลติมิเดีย
    3)  กลุ่มการใช้งานบนเว็บ
กลุ่มการใช้งานทางด้านธุรกิจ
    ซอฟต์แวร์กลุ่มนี้ถูกใช้โดยมุ่งหวังในการทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การจักพิมพ์รายงานเอกสาร นำเสนองาน  และการบันทึกนัดหมายต่างๆ  เช่น
    -โปรแกรมประมวลคำ อาทิ  Microsoft word, sun star office writer
    -โปรแกรมตารางคำนวณ อาทิ Microsoft Excel, sun star office cals
    -โปรแกรมนำเสนองาน อาทิ Microsoft Power Point, sun star office impress
กลุ่มการใช้งานด้านกราฟิกและมัลติมิเดีย
    ซอฟต์แวร์กลุ่มนี้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยจัดการด้านงานกราฟิกและมัลติมิเดีย  เพื่อให้งานง่ายขึ้น    เช่น ตกแต่ง วาดรูป  ปรับเสียง การออกแบบเว็บไซด์ เช่น
   -โปรแกรมงานออกแบบ อาทิ Microsoft risio Professional
   -โปรแกรมตกแต่งภาพ อาทิ CorelDraw, Adobe Premiere, Pinnacle studio DV
   -โปรแกรมตัดต่อวิดิโอและเสียง อาทิ Adobe Premiere, Pinnacle studio DV
   -โปรแกรมสร้างสื่อมัลติมิเดีย อาทิ Adobe Autnorware, Tool book Instructor, Adobe Director
  -โปรแกรมสร้างเว็บ อาทิ Adobe Flash, Adobe Dream weaver
กลุ่มการใช้งานบนเว็บและการติดต่อสื่อสาร
    เมื่อการเจริญเติบโตของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซอฟต์แวร์กลุ่มนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะเพิ่มมากขึ้น เช่นโปรแกรมการตรวจเช็คอีเมลล์, การท่องเว็บไซด์การจัดการดูแลเว็บ และการส่งข้อความติดต่อสื่อสาร  
   ตัวอย่างโปรแกรมกลุ่มนี้ได้แก่
-โปรแกรมจัดการอีเมลล์ อาทิ Microsoft  Outlook ,Mozzila Thunderbird
-โปรแกรมท่องเว็บ อาทิ Microsoft  Internet ,Explorer , Mozzila  Firefox
-โปรแกรมประชุมทางไกล  (Video Conference)
-โปรแกรมส่งข้อความด่วน (Intent Messaging)  เช่น MSN

ความจำเป็นของการใช้ซอฟต์แวร์
    ซอฟต์แวร์เป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามต้องการ  เป็นการสั่งงานตามลำดับขั้นตอนที่ผู้เขียนโปรแกรมเรียบเรียงไว้ในรูปของเลขฐานสองซึ่งใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข  ตัวอักษร  รูปภาพ  และเสียง
     ภาษาหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นซอฟต์แวร์สำคัญที่ทำให้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องทำงานแตกต่างกันได้มากมาย  เพราะคำสั่งหรือซอฟต์แวร์แต่ละโปรแกรมจะถูกออกแบบสำหรับใช้กับแต่ละงานแตกต่างกัน  เช่น โปรแกรมสำหรับจัดทำเอกสาร  โปรแกรมสำหรับจัดทำบัญชี  โปรแกรมสำหรับจัดทำสื่อการเสนอ  โปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับการตกแต่งภาพนิ่ง   โปรแกรมเกี่ยวกับการตัดต่อภาพเคลื่อนไหว  ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งบางโปรแกรมสามารถประยุกต์ใช้งานดีอีกหลายด้านตามความสามารถของผู้เขียนและผู้ใช้โปรแกรมนั้นๆ
     การใช้ภาษาเครื่องนี้  ถึงแม้ว่าคอมพิวเตอร์แต่มนุษย์ผู้ใช้จะมีข้อยุ่งยากมาก  เพราะเข้าใจและจดจำยาก  จึงมีผู้สร้างภาษาคอมพิวเตอร์ในรูปที่เป็นตัวอักษร  เป็นประโยคข้อความ ภาษาในลักษณะดังกล่าวนี้เรียกว่า  ภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง

ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์
   การทำงานที่ถูกต้องนั้น จำเป็นต้องมีสื่อกลาง ถ้าเปรียบกับชีวิตประจำวันแล้ว  เรามีภาษาที่ใช้ติดต่อซึ่งกันและกัน  เช่นเดียวกันถ้ามนุษย์ต้องการจะถ่ายทอดความต้องการให้คอมพิวเตอร์รับรู้และปฏิบัติตาม   จะต้องมีสื่อกลางสำหรับการติดต่อ  เพื่อให้คอมพิวเตอร์รับรู้   เราเรียกสื่อกลางนี้ว่า  ภาษาคอมพิวเตอร์

-ภาษาคอมพิวเตอร์ในแต่ละยุคประกอบด้วย
   -ภาษาเครื่อง (Machine  Languages)
  เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญาณทางไฟฟ้าที่แทนค่าด้วยตัวเลข 0  และ1 โดยผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์ใช้ตัวเลข 0 และ 1 นี้เป็นรหัสแทนคำสั่งในการสั่งงานคอมพิวเตอร์  รหัสแทนข้อมูลและคำสั่งโดยใช้ระบบเลขฐานสองนี้  คอมพิวเตอร์สามารถแปลผลอย่างเป็นเหตุเป็นผลเชิงตรรกะได้อย่างถูกต้อง  เราเรียกเลขฐานสองที่ประกอบกันเป็นชุดคำสั่งสำหรับคอมพิวเตอร์ว่า ภาษาเครื่อง
   -ภาษาแอสแซมบลี (Assemble  Languages)
  เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 2 ถัดจาดภาษาเครื่อง ภาษานี้ช่วยลดความยุ่งยากในการเขียนโปรแกรม
   -ภาษาระดับสูง (High – Level  Languages)
  เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 3  เริ่มมีการใช้ชุดคำสั่งที่เรียกว่า Statements ที่มีลักษณะเป็นประโยคภาษาอังกฤษ  ทำให้ผู้เขียนโปรแกรมสามารถเข้าใจชุดคำสั่ง  เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานง่ายขึ้น  โปรแกรมที่ใช้แปลภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง เรียกว่า คอมไพเลอร์(Compiler) และอินเทอร์พรีเตอร์ (Interpreter)

คอมไพเลอร์(Compiler)
จะทำการแปลโปรแกรมที่เขียนเป็นภาษาระดับสูงทั้งโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่องก่อนแล้วจึงให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามภาษาเครื่องนั้น
อินเทอร์พรีเตอร์ (Interpreter)
จะทำการแปลทีละคำสั่ง  แล้วให้คอมพิวเตอร์ทำตามคำสั่งนั้น เมื่อทำเสร็จแล้วจึงมาทำการแปลคำสั่งลำดับต่อไป
    ข้อแตกต่างระหว่างเรียกว่า คอมไพเลอร์(Compiler) และอินเทอร์พรีเตอร์ (Interpreter) จึงอยู่ที่การแปลทั้งโปรแกรมหรือแปลทีละคำสั่ง  ตัวแปลภาษาที่รู้จักกันดี เช่น ตัวแปลภาษาเบสิก ตัวแปลภาษาโคบอล


ระบบสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
-การทำงานของระบบ  Network และ Internet
โครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1.เครือข่ายเฉพาะที่ (Local Area Network: LAN)
เป็นเครือข่ายที่มักพบเห็นกันในองค์กรโดยส่วนใหญ่ลักษณะของการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นวง LAN จะอยู่ในพื้นที่ใกล้ๆกัน  เช่น ภายในอาคาร
2.เครือข่ายเมือง (Metropolitan Area Network: MAN)
เป็นกลุ่มของเครือข่าย LAN ที่นำมาเชื่อมต่อกันเป็นวงใหญ่ขึ้น  ภายในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง เช่น ในเมืองเดียวกัน
3.เครือข่ายในบริเวณกว้าง (Wide Area Network: WAN)
เป็นเครือข่ายที่ใหญ่ขึ้นอีกระดับโดยเป็นการรวม LAN และ MAN เข้าด้วยกันมาเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายเดียว ดังนั้นเครือข่ายนี้จะครอบคลุมพื้นที่กว้าง โดยมีการควบคุมไปทั่วประเทศหรือทั่วโลก เช่น อินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ

-รูปแบบโครงสร้างของเครือข่าย (Network Topology)
 การจัดระบบการทำงานของเครือข่าย มีรูปแบบโครงสร้างของเครือข่าย อันเป็นการจัดวางคอมพิวเตอร์ และการเดินสายสัญญาณคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย  รวมถึงหลักการไหลเวียนข้อมูลในเครือข่ายด้วย  โดยแบ่งโครงสร้างของเครือข่ายหลักได้ 4  แบบคือ
-เครือข่ายดาว
-เครือข่ายวงแหวน
-เครือข่ายบัส
-เครือข่ายต้นไม้


1. แบบดาว   เป็นการต่อสายเชื่อมโยงโดยการนำสถานีต่างๆมาต่อรวมกันกับหน่วยสลับสายกลาง  การติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีจะกระทำได้โดยการติดต่อผ่านวงจรของหน่วยสลับสายกลาง
   ลักษณะการทำงาน  จะมีสถานีกลางหรือ ฮับ เป็นจุดผ่านการติดต่อระหว่างทุกโหนดในเครือข่าย  สถานีกลางจึงมีหน้าที่ควบคุมเส้นทางการสื่อสารทั้งหมด นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง คอยจัดส่งข้อมูลให้กับโหนดปลายทางอีกด้วย  การสื่อสารภายในของเครือข่ายดาว  จะเป็นแบบ 2 ทิศทาง โดยจะอนุญาตให้มีเพียงโหนดเดียวเท่านั้น ที่ สามารถส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายได้  เพื่อป้องกันการชนกันของสัญญาณข้อมูล   เครือข่ายดาวเป็นเครือข่ายหนึ่งที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน

2.แบบวงแหวน  เป็นแบบที่สถานีของเครือข่ายทุกสถานีจะต้องเชื่อมต่อกับเครื่องขยายสัญญาณของทุกสถานีเข้าด้วยกันเป็นวงแหวน หากข้อมูลที่ส่งเป็นของสถานีใด เครื่องขยายสัญญาณของสถานีนั้นก็รับและส่งให้กับสถานีนั้น  เครื่องขยายสัญญาณจึงต้องมีการตรวจสอบข้อมูลตามนั้น

3.แบบบัส  เป็นเครือข่ายที่เชื่อมคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ ด้วยสายเคเบิลยาวต่อเนื่องไปเรื่อยๆ โดยจะมีอุปกรณ์ที่เป็นตัวเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์  และอุปกรณ์เข้ากับสายเคเบิล  ในการส่งข้อมูลจะมีคอมพิวเตอร์เพียงตัวเดียว เท่านั้น ที่สามารถส่งข้อมูลได้ในช่วงเวลาหนึ่งๆ  การส่งข้อมูลจะต้องมีวิธีการที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งพร้อมกัน เพราะจะทำให้ชนกัน  การติดตั้งเครือข่ายนี้  คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์จะใช้สายเคเบิลเพียงเส้นเดียวเท่านั้น
  ลักษณะการทำงาน อุปกรณ์ทุกชิ้นหรือโหนดทุกโหนดในเครือข่ายจะต้องเชื่อมโยงเข้ากับสายสื่อสายหลัก ที่เรียกว่า “Bus” (บัส) เพราะสายสื่อสารหลักที่เรียกว่าบัสมีสายเดียว

4.แบบต้นไม้    เป็นเครือข่ายที่มีการผสมผสานโครงสร้างเครือข่ายแบบต่างๆ เข้าด้วยกัน เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่  การจัดส่งข้อมูลสามารถส่งไปถึงได้ทุกสถานี การสื่อสารข้อมูลจะผ่านตัวกลาง ไปยังสถานีอื่นๆได้ทั้งหมด

-การประยุกต์ใช้งานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
รูปแบบการใช้งานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์  
แบ่งตามลักษณะการทำงานได้เป็น 3 ประเภท คือ
1.ระบบเครือข่ายแบบรวมศูนย์กลาง
2.ระบบเครือข่ายแบบ Peer-to Peer
3.ระบบเครือข่ายแบบ Client/Server

1.ระบบเครือข่ายแบบรวมศูนย์กลาง   เป็นระบบที่มีเครื่องหลักเพียงเครื่องเดียวที่ใช้ในการประมวลผล ตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางและมีการเชื่อมต่อไปยังเครื่องเทอร์มินอลที่อยู่รอบๆ ใช้สายเคเบิลเชื่อมต่อกันโดยตรง  โดยคำสั่งต่างๆมาประมวลที่เครื่องกลาง

2.ระบบเครือข่ายแบบ Peer-to Peer   แต่ละสถานีงานของระบบเครือข่าย Peer-to Peer จะมีความเท่าเทียมกัน สามารถที่จะแบ่งปันทรัพยากรให้กันได้ เช่น ใช้เครื่องพิมพ์ร่วมกัน ใช้ข้อมูลร่วมกันบนเครือข่ายได้

3.ระบบเครือข่ายแบบ Client/Server   สามารถสนับสนุนให้มีเครื่องลูกข่ายได้เป็นจำนวนมาก และสามารถเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้หลายสถานี ทำงานโดยมีเครื่อง Server ที่ให้บริการเป็นศูนย์กลางอย่างน้อย 1 เครื่อง นอกจากนี้เครื่องลูกข่ายยังจะต้องมีความสามารถในการประมวลผล
 ระบบนี้ เป็นระบบที่มีความยืดหยุ่นสูง  สนับสนุนการทำงานแบบ  Multiprocessor  สามารถเพิ่มขยายผู้ใช้ได้ตามต้องการ